เสริมหน้าอก ทำนม ต้องรู้อะไรบ้าง

เสริมหน้าอก ทำนม ศัลยกรรมเสริมหน้าอก การเตรียมตัว รูปแบบการผ่าตัด การดูแลหลังเสริมหน้าอกว่าต้องดูแลอะไรบ้าง ผลข้างเคียงต่างๆ โดยคุณหมอหลุยส์ นพ. พลเดช สุวรรณอาภา วุฒิบัตรศัลยแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์สภา ซึ่งปัจจุบันคุณหมอประจำอยู่ที่ JaremClinic (เสริมหน้าอก เสริมนม เสริมหน้าอก ทำนม โดยหมอหลุยส์)

เสริมหน้าอก Breast Augmentation (ทำนม)


ใครๆก็อยากมีรูปร่างดี สมส่วน องค์ประกอบโดยรวมของรูปร่างที่ดีคงหนีไม่พ้น “หน้าอก” เพราะเป็นอวัยวะ ส่วนสำคัญในการเสริมสร้างให้รูปร่างของผู้หญิงดูดีได้สัดส่วนขึ้น เพื่อช่วยให้สวมใส่เสื้อผ้าได้อย่างสวยงาม มั่นใจและ “หน้าอก” เป็นอวัยวะที่บ่งบอกถึงความเป็นเพศหญิง เพศแม่ อีกทั้งยังดึงดูดเพศตรงข้ามได้อีก แต่ไม่ใช่ว่าทุกๆคนจะมีหน้าอกที่สวยเข้ารูป

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้แต่ละคนมีปัญหารูปทรงหน้าอกที่แตกต่างกัน

ปัจจัยตั้งแต่กำเนิด ได้แก่เชื้อชาติ พันธุกรรมที่สืบต่อกันมา โดยชาวเอเชียจะมีขนาดหน้าอกที่เล็กกว่าชาวยุโรปอย่างเห็นได้ชัด เพราะส่วนใหญ่ชาวเอเชียอยู่เมืองร้อน ร่างกายไม่จำเป็นต้องสะสมไขมันมากนัก ซึ่งชาวยุโรปก็พบปัญหาหน้าอกที่ “ขนาดใหญ่” เกินไปจนเกิดปัญหา แตกต่างจากชาวเอเชียอย่างเราที่ขนาดหน้าอก “เล็ก” จนเกิดปัญหา

ปัจจัยภายหลัง แม้ว่าผู้หญิงไทยบางคนที่มีหน้าอกสวยพอดีตัวอยู่แล้ว แต่เกิดภาวะบางอย่างที่ทำให้หน้าอกเล็กลงได้ ที่พบบ่อยคือมีบุตร แม้ว่าการให้นมบุตรจะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อย แต่การมีบุตรทำให้ไขมันที่เนื้อนมฝ่อเล็กลงแน่นอน ซึ่งจะลดลงมากน้อยก็แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล สาเหตุอื่นๆที่ทำให้หน้าอกเล็ก เช่น สูบบุหรี่ ออกกำลังกายมากเกินไป โรคต่างๆที่ต้องทำให้ตัดเต้านมออก เช่น ก้อนเนื้อ มะเร็งเต้านม เป็นต้น

การเสริมหน้าอก ทำนม มีองค์ประกอบอะไรที่สำคัญ?

ศัลยกรรมเสริมหน้าอก Breast Augmentation ทำนม เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ คศ.1985 ประมาณ 100 ปีก่อน หลังจากนั้น เทคโนโลยีศัลยกรรมเต้านม (เสริมหน้าอก) ก็พัฒนามาตลอดจนถึงปัจจุบัน ด้วยวัสดุซิลิโคนที่ดีขึ้น เทคนิคการผ่าตัดเสริมหน้าอกที่ดีขึ้น การเตรียมตัวดูแลก่อนและหลังผ่าตัดที่มีแนวทางชัดเจน ทำให้ภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลงมากกว่าในอดีต

วิธีการเสริมหน้าอก ทำนม ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน แบ่งได้ดังนี้

1.เสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียม (Breast Implant Only)

2.เสริมหน้าอกด้วยไขมันตนเอง (Fat Graft Lipofilling)

3.เสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียมและฉีดไขมันตนเองร่วมกัน (Hybrid Breast augmentation)

เสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียม (Breast Implant Only)

ในอดีตการเสริมหน้าอกเริ่มต้นจากการฉีดสารแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย โดยใช้สารต่างๆมาทดลองแม้กระทั่งใช้ พาราฟิน (Paraffin) แต่ได้ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อักเสบ แผลติดเชื้อ หรือเกิดก้อนเนื้องอก จบลงด้วยการที่ต้องตัดเต้านมทิ้ง จากนั้นได้พัฒนาถุงเต้านมเทียมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี คศ.1960 (พศ. 2503) พบว่าได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ได้ใช้ในการศัลยกรรมเสริมหน้าอกจนถึงปัจจุบัน ณ ตอนนี้ถุงเต้านมเทียมได้พัฒนามาจนถึงรุ่นที่ 5 แล้ว (5th generation)

ถุงเต้านมเทียมแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

1.ถุงน้ำเกลือ (Saline breast implant)

2.ถุงซิลิโคน (Silicone-gel breast implant)


ถุงน้ำเกลือ (Saline breast implant)

ถุงซิลิโคนชนิดน้ำเกลือนี้สามารถบรรจุน้ำเกลือเพื่อเพิ่มขนาดถุงซิลิโคนให้ใหญ่ขึ้นตามความต้องการ ข้อดีของซิลิโคนชนิดนี้คือแพทย์ผู้ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก สามารถเปิดแผลเล็กใส่ถุงซิลิโคนผ่านบาดแผลขนาดเล็ก จากนั้นจึงเติมน้ำเกลือผ่าน Valve ที่เชื่อมกับถุงเต้านมเทียมได้โดยตรง และยังมีความปลอดภัยสูง หากถุงเต้านมเกิดฉีกขาด น้ำเกลือที่อยู่ในถุงก็สามารถถูกดูดซึมผ่านร่างกายได้ดี แต่มีอัตราการรั่วซึมสูงและสัมผัสที่ไม่เป็นธรรมชาติ ปัจจุบันในประเทศไทยไม่มีที่ผลิตแล้ว

ถุงซิลิโคนเจล (Silicon-filled implant)

ถุงซิลิโคนเจลที่ใส่ซิลิโคนเหลวบรรจุอยู่ภายใน ทำให้มีสัมผัสที่นุ่มนวลมากขึ้น ปัจจุบันการเสริมหน้าอกในประเทศไทยเกือบ100%เลือกใช้ถุงซิลิโคนชนิดนี้ แต่อาจจะเลือกใช้แต่ละแบรนด์แตกต่างกันตามแต่ประสบการณ์ของศัลยแพทย์

รูปทรงของซิลิโคนหน้าอก
1. ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงกลม (Round Implant)
2. ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ (Tear Drop implant)

การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอก ทำนม
1. ไม่ปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพ ควรแจ้งข้อมูลโรคประจำตัว ยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ click here ประวัติการแพ้ยา หรือหากมีอาการเจ็บป่วยไม่สบายก่อนวันผ่าตัด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบก่อนวันผ่าตัด

2. งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์

3. ควรงดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อย่างน้อย 7-14 วันก่อนการผ่าตัด

4. งดน้ำและอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

5. ไม่ใส่คอนแทคเลนส์, แต่งหน้า, ทาเล็บ, ทาโลชั่น, ฉีดน้ำหอม หรือใส่เครื่องประดับในวันผ่าตัด

6. เพื่อความสะดวกควรนำเสื้อที่มีกระดุมด้านหน้ามาใส่หลังจากผ่าตัดเสร็จ

7. ควรมีผู้ติดตามหรือญาติมาด้วยในวันผ่าตัด


การดูแลตัวเองภายหลังเข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอก

1.พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกเดินทางไกล หรือยกของหนัก ห้ามขับรถ

2.รับประทานยาตามที่ได้รับ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้

3.ใส่ผ้าพันหน้าอกไว้ตลอดในช่วง 1-2 สัปดาห์ สามารถคลายผ้าออกได้ถ้ารู้สึกอึดอัด

4.หลีกเลี่ยงอาหารแสลง อาหารไม่สะอาด บุหรี่ แอลกอฮอล์

5.มาตรวจตามนัดกับทางคลินิกทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจเช็คหน้าอกได้เป็นระยะๆเพื่อความสวยงามของรูปทรงหน้าอก และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

แหล่งข้อมูล https://www.jaremclinic.com/breastaugmentation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *